เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 3. วิปากติกะ 7. ปัญหาวาร
[91] สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้
เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัย
แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากและที่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นเหตุ
ให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย
เหตุปัจจัย

อารัมมณปัจจัย
[92] สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นวิบากโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นวิบากโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉาจึงเกิดขึ้น อุทธัจจะจึงเกิดขึ้น โทมนัสจึงเกิดขึ้น เมื่อกุศล
และอกุศลดับแล้ว จิตตุปบาทที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นโดยเป็นตทารมณ์ (1)
สภาวธรรมที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระเสขะพิจารณาผล เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นวิบากโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
ขันธ์นั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม
ด้วยจิตที่เป็นวิบากด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่เป็นวิบากเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :747 }